อพยพหนีไฟได้อย่างปลอดภัยด้วยระบบ Fire Alarm
ความปลอดภัยภายในอาคารที่อยู่อาศัยและสถานประกอบการนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะความปลอดภัยจากเหตุการณ์อัคคีภัยที่ซึ่งอาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับพวกเราทุกคน ซึ่งสำหรับผู้ที่ได้รับการอบรมดับเพลิงเบื้องต้นมาอาจจะมีทักษะที่สามารถดับเพลิงในระยะแรก ๆ ได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าหากว่าเหตุการณ์ไฟไหม้ดังกล่าวเกิดการลุกลามจนไม่สามารถดับเพลิงได้ด้วยตนเองอีกต่อไป นั่นก็ถึงเวลาที่ “ระบบ Fire Alarm” จะทำหน้าที่ในการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อที่จะเตือนภัยให้ทุกคนทราบและให้เตรียมความพร้อมในการอพยพกับเหตุเพลิงไหม้ที่กำลังเกิดขึ้นนั่นเอง
ทำความรู้จักกับระบบ Fire Alarm สัญญาณเตือนเพื่อการอพยพ
ระบบ Fire Alarm หรือ ระบบเตือนภัยในกรณีเกิดอัคคีภัย เป็นระบบที่จะถูกติดตั้งไว้ภายในอาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ สำหรับการเตือนให้ผู้คนภายในพื้นที่ทราบพร้อมเพรียงกันเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้เกิดขึ้น ระบบ Fire Alarm นี้จะทำงานควบคู่ไปกับการตรวจจับควัน ความร้อน หรือแม้กระทั่งก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาไหม้ โดยจะทำการแจ้งเตือนผ่านสัญญาณเสียงหรือสัญญาณแสง ที่จะเป็นการเตือนภัยให้ผู้คนมีเวลาที่จะอพยพออกจากพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้เองระบบ Fire Alarm ยังมีส่วนสำคัญในการแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานดับเพลิงใกล้เคียงเช่นเดียวกัน เพื่อที่จะสามารถเข้ามาดำเนินการควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทของอุปกรณ์สัญญาณเตือนในระบบ Fire Alarm
อุปกรณ์แจ้งเตือนสัญญาณ (Notification Appliance Devices) เป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบ Fire Alarm ซึ่งจะคอยทำหน้าที่ในการแจ้งเตือนให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารหรือบริเวณที่เกิดเหตุอัคคีภัยได้ทราบอย่างทันท่วงที ทั้งนี้ก็เพื่อให้สามารถอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยการแจ้งเตือนของสัญญาณจะถูกออกแบบมาให้มีทั้งรูปแบบประเภทเสียงและแสง เพื่อให้สามารถครอบคลุมทุกสภาพแวดล้อมและกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ เช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านการได้ยินหรือการมองเห็นเป็นต้น สำหรับอุปกรณ์แจ้งเตือนสัญญาณในระบบ Fire Alarm นั้นเราสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- อุปกรณ์แจ้งเตือนแบบสัญญาณเสียง (Audible Sigals) เป็นอุปกรณ์ประเภทที่จะใช้เสียงในการแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งสามารถออกแบบให้แตกต่างกันตามความเหมาะสมของสถานที่และประเภทอาคาร เช่น
- สัญญาณเสียงแบบกระดิ่ง (Bell) ที่จะเป็นกระดิ่งไฟฟ้าที่จะส่งเสียงดังต่อเนื่องเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดเป็นสัญญาณพื้นฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบ Fire Alarm
- สัญญาณเสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Horn) ที่สามารถปรับแต่งให้มีรูปแบบเสียงที่แตกต่างกันออกไปเช่น เสียงเตือนแบบต่อเนื่อง หรือเสียงเตือนที่มีการเว้นช่วงเป็นจังหวะ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนในพื้นที่
- เสียงสโลว์ – วูฟ (Slow Whoop) ที่เป็นเสียงเตือนแบบมีลักษณะความถี่ขึ้นลงอย่างช้า ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้คนที่ได้ยินรู้สึกตื่นตัวและรับรู้ถึงสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างชัดเจน
- เสียงประกาศจากลำโพง (Speaker) โดยระบบนี้จะใช้ลำโพงในการประกาศข้อมูลและคำสั่งอย่างชัดเจน เพื่อให้คำแนะนำในกรณีที่จำเป็นต้องอพยพออกจากพื้นที่ หรือในขณะเดียวกันในบางสถานที่อาจจะมีข้อความพิเศษเพื่อแจ้งให้พนักงานทราบ สำหรับการเตรียมความพร้อมในการพาลูกค้าอพยพโดยไม่ทำให้เกิดความแตกตื่น เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือโรงพยาบาล
- อุปกรณ์แจ้งเตือนแบบสัญญาณแสง (Visual Signals) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ผู้คนอาจมีปัญหาในด้านการได้ยิน หรืออาจจะอยู่ในพื้นที่ที่เสียงอาจจะไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้การแจ้งเตือนด้วยแสงจึงเป็นอีกประเภทการแจ้งเตือนในระบบ Fire Alarm ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะนิยมใช้งานดังนี้
- สัญญาณแสงแบบไฟกะพริบ (Strobe Light) เป็นอุปกรณ์แสดงสัญญาณแสงกะพริบสีขาวหรือสีแดง ออกแบบมาให้สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลและในพื้นที่ที่มีแสงน้อย ช่วยทำให้การแจ้งเตือนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลาเช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีผู้พิการทางการได้ยินเป็นต้น
การทำงานร่วมกันของระบบ Fire alarm
สำหรับระบบ Fire Alarm หรือระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้นั้นไม่ได้มีเพียงแค่อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมายที่จะทำการควบคู่กันภายในระบบ Fire Alarm เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแม่นยำมากที่สุด โดยจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
- อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ (Smoke Detector) ที่จะเป็นอุปกรณ์คอยตรวจจับอนุภาคของควันที่ลอยเข้าสู่ตัวเครื่อง ซึ่งหากอนุภาคของควันเหล่านั้นมีปริมาณมากจนเข้าไปขัดขวางการทำงานของวงจรไฟฟ้าตามค่าที่กำหนด อุปกรณ์ตรวจจับควันนี้จะทำการส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปที่ตู้ควบคุมเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนสำหรับการแจ้งเตือนนั่นเอง
- อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ โดยสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนนี้จะตรวจจากจุดที่ติดตั้ง หากพบว่ามีค่าความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิที่กำหนด ก็จะเริ่มทำการส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุมสำหรับการแจ้งเตือนภัยต่อไป ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนได้ 3 รูปแบบดังนี้
- Rate-of-Rise หรือการตรวจจับความร้อนตามอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ ตัวอย่างเช่นภายใน 1 นาทีมีอุณหภูมิห้องสูงขึ้นอย่างผิดปกติเป็นต้น
- Fixed Temperature หรือการตรวจจับความร้อนชนิดอุณหภูมิคงที่ ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิรอบบริเวณนั้นสูงจนถึงจุดที่เซนเซอร์กำหนด (70 องศาเซลเซียส)
- Mechanical Heat Detector ที่จะเป็นการผสมระหว่าง Rate-of-Rise และ Fixed Temperature เข้าด้วยกัน
- ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) หรือเรียกได้ว่าเป็นจุดศูนย์รวมของการทำงานระบบ Fire Alarm เลยก็ว่าได้ ซึ่งจะคอยรับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พร้อมกับสามารถส่งสัญญาณเริ่มการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์เตือนภัยต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานดับเพลิงใกล้เคียงให้ทราบ และส่งหน่วยสนับสนุนมาเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน
เราจะเห็นได้ว่าระบบ Fire Alarm นั้นถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องมีการติดตั้งภายในอาคารและสถานที่ต่าง ๆ แม้ว่าอุปกรณ์ระบบ Fire Alarm จะถูกออกแบบมาให้มีมาตรฐานในการใช้งานที่ปลอดภัยเป็นอย่างดี แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ในการดูแลระบบเช่นเดียวกัน โดยเราสามารถทำได้จากการฝึกอบรมดับเพลิงเบื้องต้น และอบรมการอพยพหนีไฟที่พวกเราส่วนใหญ่มักจะได้รับการฝึกซ้อมเป็นประจำทุกปีอยู่แล้วนั่นเอง
สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาผู้ให้บริการติดตั้งระบบ Fire Alarm ประสิทธิภาพสูง ติดต่อ บริษัท โค-แพค เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ผู้นำด้านระบบปรับอากาศ ระบบห้องสะอาด ระบบไฟฟ้า ระบบห้องเย็น และโดยเฉพาะระบบดับเพลิง ซึ่งล้วนแต่ได้รับการดูแลจากทีมงานวิศวกรที่มากด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มั่นใจได้ถึงมาตรฐานในการทำงานของเรา ด้วยผลงานที่ผ่านมาทำให้เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลากหลายประเภทธุรกิจ สามารถให้คำแนะนำกับผู้ที่สนใจได้อย่างตรงจุด เหมาะสมกับธุรกิจที่คุณกำลังดำเนินการอย่างแน่นอน
ติดต่อสอบถามบริการติดตั้งระบบ Fire Alarm
CO-PAC ENGINEERING
Tel : 02-914-8127-8 , 081-689-0736
Line ID : sawatchai89
E-mail : [email protected]